ครอบครัวสุขสันต์

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของนิทาน




นิทาน
คือเรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา มุ่งให้เห็นความบันเทิงแทรก แนวคิด คติสอนใจ จนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆ อย่างหนึ่ง นิทานเป็นอาหารทางใจอย่างหนึ่งของมนุษย์ นิทานเป็นแหล่งรวบรวมจินตนาการและความฝัน นิทานเป็นทางออกทางใจของมนุษย์ ทำให้มีความสุขและช่วยผ่อนคลายความทุกข์ในใจได้ อาจเรียกนิทาน พื้นบ้าน นิทานพื้นเมือง นิทานชาวบ้าน เป็นต้น เเละนิทานเป็นเรื่องที่เล่ากันสืบต่อ ๆ มา ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง
ด้วยมุขปาฐะ


สารบัญ(สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี้)

1 ที่มาของนิทาน
2 นิทานที่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมานี้จะมีลักษณะเฉพาะ
3 การแบ่งนิทาน
4 อิทธิพลของตำนาน นิทาน นิยาย เรื่องเล่าสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต
5 ประเภทของนิทานในเมืองไทย
6 นิทานพื้นบ้าน
7 การแบ่งประเภทของนิทานพื้นบ้าน
8 ตัวอย่างนิทานพื้นบ้าน
9 นิทานอีสป
10 คุณสมบัติของผู้รวบรวมนิทานพื้นบ้านชั้นต้น
11 นิทานชาดก
12 ตัวอย่างนิทานกาพย์กลอน
13 ตัวอย่างนิทานสอนใจ
14 นิทานตลก
15 นิทานตลกหยาบโลน
16 อีสปราชาเเห่งการเล่านิทาน
17 นิทานของอิสปที่โด่งดัง

วรรณคดีไทย





วรรณคดีมรดกของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๒)
เป็นเวลา ๒๑๗ ปี กวีไทยได้สร้างสรรค์วรรณคดีที่สมควรรักษาเป็นมรดกไทยไว้จำนวนมาก ในที่นี้จะหยิบยกเฉพาะที่สำคัญๆ
มากล่าวไว้ คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ลิลิตตะเลงพ่าย สามก๊ก พระราชพิธีสิบสองเดือน และนิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี




การ์ตูนจีน






การ์ตูนจีน (จีนตัวเต็ม: 漫畫; จีนตัวย่อ: 漫画; พินอิน: Mànhuà) เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูนที่มาจากรัฐฮ่องกง และ ประเทศจีน ลักษณะของการ์ตูนจีน ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน เนื้อหานอกจากจะสนุกสนานแล้วยังเน้นคุณธรรมตามแบบความเชื่อของจีน โดยการ์ตูนจีนส่วนใหญ่จะมีโครงเรื่องมาจากนวนิยายกำลังภายในของจีน

การ์ตูนจีนที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย
  • กำเนิดเทพศาสตราจอมคนแผ่นดินเดือด
    เจ็ดศาสตรา ฉบับการ์ตูน
    เจาะเวลาหาจิ๋นซีดาบมังกรหยก
    เดชผลึกฟ้า 5 วิถี
    ฟงอวิ๋น ขี่พายุทะลุฟ้า
    มังกรคู่สู้สิบทิศ
    มังกรหยก
    ลูกปลาน้อย เซียวฮื่อยี้
    ลูกมังกรหยก
    วอร์ลอร์ด จ้าวนักรบกลียุค
    ศึกเทพศาสตรา
    สามก๊ก
    สำนักพยัคฆ์มังกร
    หงสาจอมราชันย์

การ์ตูนญี่ปุ่น






การ์ตูนญี่ปุ่น

เป็นคำที่ใช้เรียก หนังสือการ์ตูน หรือภาพยนตร์การ์ตูนที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะของการ์ตูนญี่ปุ่น ตัวละครในเนื้อเรื่องจะมีลักษณะเฉพาะตัว และเนื้อเรื่องที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาพของคนและสัตว์ที่ปรากฏในการ์ตูนญี่ปุ่นมักจะมีสัดส่วนผิดเพี้ยนไปจากความจริง เช่นมีทรวดทรงที่เล็ก-ใหญ่กว่าปกติ หรือดวงตาที่โตกว่าปกติ แตกต่างจากการ์ตูนฝั่งตะวันตกที่มักจะเขียนภาพคนและสัตว์ออกมาในลักษณะเหมือนจริง ในภาษาญี่ปุ่นและหลายประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปจะเรียกหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นศัพท์เฉพาะว่า มังงะ (ญี่ปุ่น: 漫画 manga ?) และเรียกภาพยนตร์การ์ตูนจากญี่ปุ่นว่าอะนิเมะ (ญี่ปุ่น: アニメ anime ?)


อ่านเรื่องย่อและชมการ์ตูนญี่ปุ่นได้ที่ cartoonclub

นิทานก้อม








นิทานก้อม นิทานเรื่องสั้น คือ ?นิทานก้อม คือ นิทานเรื่องสั้น ที่มีเนื้อหาไม่ยาว เป็นเรื่องสนุกสนาน ฟังแล้วบันเทิง ขำขัน เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นเรื่องล้อเลียนผู้คน ที่ทำตัวผิดปกติ ผิดชาวบ้าน หรือทำอะไรผิดๆ พลาดๆ เซ่อๆ ซ่าๆ เรื่องราวหน้าแตก เรื่องเปิ่นๆ ป่วงๆ ฟังแล้วขบขัน เป็นการคลายเคลียดไปในตัว และที่สำคัญ เป็นเรื่องของชาวอิสานบ้านเฮาตั้งแต่เก่าก่อน เล่าสืบต่อกันมา




สามารถเข้าชมนิทานก้อมได้ที่ บ้านมหา ดอทคอม

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

สุภาษิตไทย




สุภา๋ษิตไทย หมายถึง คำพูดที่พูดออกมาไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย
แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี  เป็นคำตักเตือนสั่งสอนและสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ                                                          
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
 ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน
หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ
ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น  เช่น
ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
1.หมากัดอย่ากัดตอบ หมายถึง คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้าย
หรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบแต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย
 2.ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิดหมายถึง การทำความผิดใหญ่หลวง ย่อมไม่อาจปกปิดได้
ต้องมีผู้รู้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เป็นต้น





อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สุภาษิตไทย

สุภาษิตภาษาอังกฤษ




“A bad penny always comes back.”

ขว้างงู งูไม่พ้นคอ

ความหมาย: สิ่งไม่ดีที่เราพยายามกำจัด มักจะหวนกลับมาหาเราอีก

Description: If we try to get rid of a counterfeit coin by passing it off upon somebody else, sooner or later it will find the way back into our pocket. Figuratively a bad penny is a ne’er-do-all-well, the black sheep of the family. We use the proverb in reference to a young man who leaves home in disgrace and returns there after a long absence in the hope that all is forgiven.


“A genius is born, not made.”
หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีคนกลึง

ความหมาย: คนที่มีสติปัญญาหรือมีความสามารถเก่งกาจนั้น อาจเป็นผู้ที่ไม่ต้องมีใครสอนเลยก็ได้

Description: A "genius" is born, not made, while "Heroes" aren't born, they are made.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สุภาษิตภาษาอังกฤษ

เทคนิคการวาดการตูน





มาเริ่มกันตั้งแต่ตรงนี้กันก่อนครับ ฝึกความชำนาญในการควบคุมมือให้สามารถใช้งานได้ดั่งใจกันก่อน แล้วค่อยเข้าสู่บทหลักๆ

แรกเลย หากอยากวาดการ์ตูนให้เป็น ก็ต้องจับดินสอ-ปากกา ให้ได้ดั่งใจ และถูกวิธี 



การจับดินสอ

การจับดินสอ ควรจับเพียงเบาๆ เพราะดินสอมีน้ำหนักเพียงไม่กี่กรัมเท่านั้น ควรจับแบบสบายๆไม่เกร็ง และการจับแแบบที่ถูกวิธีคือ ควรวางด้ามดินสอใว้บนนิ้วกลาง และใช้เพียงนิ้วชี้ และนิ้วโป้งสัมผัสเพียงเบาๆครับ ส่วนการขยับนั้น ให้ใช้เพียงนิ้วชี้ และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วโป้งนั้นใช้เพียงช่วยประคองไม่ให้ดินสอหลุดหล่นจากมือก็พอ

ในการวาดรูปทรงเรขาคณิตเหล่านี้ แรกๆ ให้วาดด้วยความเร็ว เพื่อให้เส้นที่ได้ดูเรียบ ไม่หยัก หงิกงอ และพยายามทำมือให้เบาขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถวาดได้โดยที่มือ หรือข้อศอกไม่วางอยู่บนกระดาษ

เมื่อเริ่มทำได้แล้วให้วาดรูปทรงเหล่านั้นโดยการวาดกลับจากที่ตัวเองถนัด เช่น ถ้าถนัดวาดจากซ้ายไปขวา ก็วาดจากขวาไปซ้าย,จากนนลงล่าง ก็กลับจากล่างขึ้นบน
ทำไปเรื่อยๆ สักพัก เมื่อเริ่มถนัดก็ให้กลับมาวาดแบบปกติ เมื่อวาดรูปทรงเหล่านั้นได้ดั่งใจแล้วให้ปรับระดับความเร็วลงเป็นการวาดแบบช้าๆ และค่อยๆช้าลงเรื่อยๆ จนถึงช้าที่สุด เช่นประมาณ10วินาที ต่อการวาดวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1 เซ็นติเมตร โดยที่เส้นนั้นยังคงเรียบโค้งมน ดูเรียบร้อย ไม่หงิกงอ เป็นอันฝ่าน

เส้นเหล่านี้อาจเป็นการฝึกมือ แต่มันสามารเอารูปทรงไปประยุคใช้ให้เป็นภาพต่างๆได้มากมาย

อ่านต่อได้ที่ ฝึกวาดการ์ตูน (กับบ่าวเบิ้ม)

นิทานพื้นบ้าน





วันนี้เริ่มเรื่องด้วยการเอ่ยถึงนิทานแต่เพื่อนๆคงจะนึกว่านิทานของต่างปรเทศที่เราอ่านกันใช่ไหมค่ะ แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดค่ะเพราะนิทานที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก้อคือ นิทานพื้นบ้านไทย แต่ไม่ได้เอานิทานมาให้อ่านนะค่ะ ที่จะมาให้อ่านก้อคือ ประเภทของนิทานต่างๆ(ต้องอ่านถึงจะรู้) บอกแค่นี้แหละต่อไปก้อพบกับเนื้อหาที่วันนี้นำมาฝากกันเลยค่ะพอเอ่ยถึงเรื่อง ตำนานหรือนิทาน ขึ้นมาเมื่อใด เชื่อว่าคนเราไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็ชอบฟังด้วยกันทั้งนั้น นิทานเป็นเรื่องที่เล่ากันมา อาจจะมีพื้นฐานความจริงบ้าง หรือเกิดจากการจินตนาการเสริมแต่งขึ้นมาบ้างก็แล้วแต่ผู้เล่าหรือผู้เขียน นิทานเป็นสิ่งที่มีอยู่ในคนทุกชาติทุกภาษา สำหรับเด็กไทยเรา ก็มี นิทานพื้นบ้าน หรือ นิทานท้องถิ่น อันเป็นมรดกที่ปู่ยา ตายายได้มอบไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ลูกหลานฟังสืบทอดกันมานับร้อยปี นิทานพื้นบ้านมีหลายประเภท บ้างก็เป็นตำนานอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ บ้างก็เป็นนิทานประจำถิ่น บ้างก็เป็นนิทานตลก ในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๒๖ กล่าวถึง นิทานพื้นบ้าน ไว้ว่า คือ เรื่องที่เล่ากันต่อๆมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง เช่น นิทานเรื่องสังข์ทอง ปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม เป็นการเล่าจากปู่ยาตายายของเรา พ่อแม่ของเรารวมทั้งตัวเราเองไปสู่ลูกหลานเหลนโหลนของเราเป็นทอดๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่า บ้างครั้งก็แพร่กระจายจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง

นิทานอีสป




ใครหนอ...สร้างนิทานอีสป
นิทานที่ได้รับความนิยมและเชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากที่สุดรวมถึงในประเทศไทยด้วย คงหนีไม่พ้นนิทานอีสป ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องราวสนุกสนานแล้วด้านหลังเล่มยังมีคติสอนใจจากเนื้อเรื่อง ด้วยคำว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...
หลายคนนึกสงสัยว่า ใครหนอ ช่างคิดเรื่องราวที่สนุกและแฝงแง่คิดที่ใช้ได้ไม่ล้าสมัยน้า...
วันนี้มีคำตอบมาเฉลยให้หายสงสัย
"นิทานอีสป" มีต้นกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรกรีกโบราณ ซึ่งเจ้าของเรื่องเล่าอันสุดแสนสนุกไม่ใช่นักปราชญ์แต่เป็นทาสที่ไร้การศึกษาแต่เปี่ยมไปด้วยเชาวน์ปัญญาต่างหาก!!!
และชื่อของเขาคือ อีสป ซึ่งเป็นที่มาของชื่อนิทานอีสปนั่นเอง
อีสปเป็นชายผิวสีชาวแอฟริกาที่มีชีวิตอยู่ในนครรัฐกรีกและต้องการทำมาหากินโดยการขายตัวเป็นทาส แต่โชคร้ายที่รูปร่างหน้าตาของเขาไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานที่พิจารณาคนที่มีความสามารถด้านการต่อสู้เป็นหลัก แต่พระเจ้ากลับประทานมันสมองอันเลอเลิศให้แก่อีสปเป็นการตอบแทน เขาจึงหันมาใช้สติปัญญาในการหาเลี้ยงชีพแทนการใช้กำลัง
สุดท้ายแล้วอีสปก็สามารถเอาชนะใจคนกรีกได้ ด้วยการเล่าเรื่องธรรมดาๆ แต่สอดแทรกด้วยปรัชญา แง่คิด และคติสอนใจต่างๆ ซึ่งเมื่อใครได้ฟังก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ อีกทั้งยังนำคติสอนใจที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเองได้ด้วย
ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของเรื่องราวจากอีสปก็คือ เขาจะใช้ตัวละครที่เป็นสิงสาราสัตว์ทั่วไป เช่น "หมาป่ากับลูกแกะ, สุนัขกับเงา, ราชสีห์กับหนู" หรือ "สุนัขจิ้งจอกกับกา" เป็นต้น
ความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำราหรือในระบบการศึกษาเท่านั้น หากเรารู้จักค้นคว้าหาความรู้รอบตัวก็จะเป็นคนฉลาดแบบอีสปได้เหมือนกันนะ

การ์ตูนธรรม





การ์ตูนธรรมะ เรื่อง แก๊งค์เด็กดี เป็นการ์ตูนไทย ที่เป็น การ์ตูนธรรมะแอนิเมชั่น กล่าวถึงเรื่องราวของเด็กๆ ที่น่าติดตาม
การ์ตูนธรรมะ แก๊งค์เด็กดีนี้ เป็นทั้งการ์ตูนคุณธรรม การ์ตูนเด็กการ์ตูนสอนศีลธรรม โดยเป็นการ์ตูนไทยเรื่องแรก ที่นำเอาหลักธรรมมงคลชีวิต 38 ประการมาสอดแทรกในเนื้อหา เพื่อให้เด็กๆ ได้ซึมซับคุณธรรมความดีตั้งแต่เยาว์วัย

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

นิทานชาดก











 มหาชนกชาดก (พระมหาชนก)
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมีคือความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเลเรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลาในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ.ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่าเป็นชายควรเพียรร่ำไปอย่างเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้.



 สุวรรณสามชาดก (สุวรรณสาม)
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมีคือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้ามีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตน ซึ่งเสียจักษุในป่าและเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นหมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสีชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิดภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัยจึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา.
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยาอ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติและได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรมแม้เทวดา ก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีกก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.