วันนี้เริ่มเรื่องด้วยการเอ่ยถึงนิทานแต่เพื่อนๆคงจะนึกว่านิทานของต่างปรเทศที่เราอ่านกันใช่ไหมค่ะ แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดค่ะเพราะนิทานที่เราจะพูดถึงในวันนี้ก้อคือ นิทานพื้นบ้านไทย แต่ไม่ได้เอานิทานมาให้อ่านนะค่ะ ที่จะมาให้อ่านก้อคือ ประเภทของนิทานต่างๆ(ต้องอ่านถึงจะรู้) บอกแค่นี้แหละต่อไปก้อพบกับเนื้อหาที่วันนี้นำมาฝากกันเลยค่ะพอเอ่ยถึงเรื่อง ตำนานหรือนิทาน ขึ้นมาเมื่อใด เชื่อว่าคนเราไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็ชอบฟังด้วยกันทั้งนั้น นิทานเป็นเรื่องที่เล่ากันมา อาจจะมีพื้นฐานความจริงบ้าง หรือเกิดจากการจินตนาการเสริมแต่งขึ้นมาบ้างก็แล้วแต่ผู้เล่าหรือผู้เขียน นิทานเป็นสิ่งที่มีอยู่ในคนทุกชาติทุกภาษา สำหรับเด็กไทยเรา ก็มี นิทานพื้นบ้าน หรือ นิทานท้องถิ่น อันเป็นมรดกที่ปู่ยา ตายายได้มอบไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ลูกหลานฟังสืบทอดกันมานับร้อยปี นิทานพื้นบ้านมีหลายประเภท บ้างก็เป็นตำนานอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ บ้างก็เป็นนิทานประจำถิ่น บ้างก็เป็นนิทานตลก ในหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๒๖ กล่าวถึง นิทานพื้นบ้าน ไว้ว่า คือ เรื่องที่เล่ากันต่อๆมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง เช่น นิทานเรื่องสังข์ทอง ปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม เป็นการเล่าจากปู่ยาตายายของเรา พ่อแม่ของเรารวมทั้งตัวเราเองไปสู่ลูกหลานเหลนโหลนของเราเป็นทอดๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่า บ้างครั้งก็แพร่กระจายจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง
โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ ๒๖ กล่าวถึง นิทานพื้นบ้าน ไว้ว่า คือ เรื่องที่เล่ากันต่อๆมาจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง เช่น นิทานเรื่องสังข์ทอง ปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม เป็นการเล่าจากปู่ยาตายายของเรา พ่อแม่ของเรารวมทั้งตัวเราเองไปสู่ลูกหลานเหลนโหลนของเราเป็นทอดๆ รุ่นแล้วรุ่นเล่า บ้างครั้งก็แพร่กระจายจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น